Wednesday, December 23, 2009

การท่องเที่ยวแนวใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

ข้อมูลโดย : พิฆเนศ สุขสมจิตร
เอกสารประกอบ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1)รูปแบบในการจัดการอตุสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยแบบเดิม คือ จะให้ ความสำคัญของวิธีการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในการกำหนดหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ระหว่างปี 2549 - 2552) โดยได้กำหนดเอาไว้ว่า “ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ” จะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการท่องเที่ยว (ในครั้งอดีต) ซึ่งได้มีการรวบรวมปัญหาต่างๆ และวิธีการแก้ไขความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ปัญหาชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้รับประโยชน์ และไม่มีส่วนร่วม หรือ ปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้เป็นไปตามขั้นตอนและกิจกรรมชนิดต่างๆ ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด
ในครั้งอดีตนั้นการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้จัดให้เป็นหลักการและได้นำไปใช้ กับ กิจกรรมเพื่อการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ และ การจัดการโครงการต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวของกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนในครั้งอดีต (ระหว่างปี 2549 - 2552) นั้น จะมีปัจจัยหลายๆ ด้านที่สามารถสร้างให้เป็นโอกาสทางการตลาดของการท่องเที่ยว แนวทางการส่งเสริมศักยภาพและกำหนดทิศทาง และ การเติบโตของการท่องเที่ยว ยังเป็นเครื่องมือที่มีสำคัญในการนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ
2.) การสัมมนาฯในครั้งนี้ ได้มีการขอยกตัวอย่าง และ การนำเสนอของกระแสการท่องเที่ยวของโลกสมัยใหม่ (ระหว่างปี 2553 - 2557 ) ที่จะเกิดขึ้นดังนี้
2.1 พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นอยู่ จากการประมวลสถานการณ์ และ เอกสารทางด้านวิชาการ มีรายละเอียดดังนี้
- นักท่องเที่ยวมีความต้องการ การท่องเที่ยวในรูปแบบเฉพาะมีมากขึ้น
- การเลือกเดินทางท่องเที่ยวอย่างรู้คุณค่า
- การแสวงหาประสบการณ์ การเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
- ท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก ห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
- มุ่งเน้นความสะดวกและการบริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
3)กลุ่มนักวิชาการณ์ และ ผู้เข้าร่วมฯ ได้มีการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภค และ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2550 – 2552 ดังนี้
กลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวชาวเยอรมนี : นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวชาวอิตาลี : 94 % ของนักท่องเที่ยวสนับสนุนมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมของที่พัก และ
อีก 90 % จะเลือกที่พักที่มีเครื่องหมาย ECO-LABEL
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยว สหราชอาณาจักร : นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการอุตสาหกรรมที่มีจริยธรรมและเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสิ่งนั้น
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวชาวสหรัฐอเมริกา: มีนักท่องเที่ยวที่มากกว่า 75 % ยึดมั่นว่าการเดินทางท่องเที่ยวของพวกเขาจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและ 38% เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และนักท่องเที่ยว 80 % มีความเห็นว่าการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่มีเพียงแค่ 14 % ที่จะคำนึงถึงที่พักที่มีมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ
ลักษณะของสินค้าทางการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกิจกรรมที่ยังได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ยังคงอยู่เช่นเดิมประกอบไปด้วย
• หาดทราย-ชายทะเล / ชมเมือง / ทิวทัศน์ / น้ำตก / ป่าเขา
• วัฒนธรรม/ประเพณี
• Shopping/สถานบันเทิง
• ฯลฯ
4)นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์และนำเสนอคุณลักษณะของสินค้าทางการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดกระแสความนิยมในอนาคต คือ
* การมุ่งความสนใจเฉพาะด้าน ในสินค้าท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/
ดำน้ำ/การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
* การสร้างเสริมประสบการณ์ และ การเรียนรู้สิ่งใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว
เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร/การท่องเที่ยวชุมชน/ค่ายเยาวชน
* การสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การเป็นอาสาสมัคร/การปลูกป่าชายเลน/ดำน้ำเก็บขยะ ฯลฯ
นอกจากนี้การบิดตัวต่อสภาวการณ์ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่จะทำให้ผู้ประกอบการฯ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายนอกและภายในของประเทศไทย ให้มากขึ้นด้วย เช่น
1 การเปลี่ยนแปลงทางภาคการเกษตรของประเทศ
2 สภาวะแวดล้อมและสภาวะของสภาพอากาศในประเทศ
3 การประมวลสถานการณ์ทางด้านวิกฤตการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้นในประเทศ
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
4 การแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
5 ต้นทุนทางการผลิตที่สูงขึ้น/การปรับตัวของการบริหารการจัดการทั้งทางภาครัฐ-เอกชน
6 การวางตำแหน่งและตัวสินค้าที่มีอยู่ภายในประเทศไทย
ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการบิดตัวของผลสภาวการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุค
ใหม่ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
• การพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวจะต้องกระจายไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
• การสร้างระบบการเตือนภัยที่ดีและมีคุณภาพ
• การบูรณาการทางการตลาด / การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
• การทำตลาดและการทำธุรกิจในเชิงรุก / การทำตลาดทางตรงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่
4) การสัมมนาฯ ในครั้งนี้กระผมขอนำเสนอเครื่องมือที่จะเป็น “ การจัดการบริการ และ การท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต ” โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จะต้องมีการปรับมุมมองทางด้านการตลาดเสียใหม่ เช่น มีการกำหนดบทบาทให้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย หรือ คนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นเสมือน “ เพื่อนหรือคนรู้จัก ” มากกว่าจะเป็นเพียงนักท่องเที่ยวเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ภาพโดยรวมของตัวสินค้าที่มีอยู่ในประเทศไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ การที่ ททท. จะได้นำเอาปัญญาปฏิบัติของไทยมาใช้งานภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย
จะเป็นตัวช่วยเหลือที่ดีได้ต่อไปในอนาคต
ในการนี้จะขอยกแนวทางและปัญญาปฏิบัติของไทย รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ จากการจัดการความรู้ และแนวทางการทำงานของ ททท. ต่อไปในอนาคต ดังต่อไปนี้
1 วิธีการที่จะเป็นตัวการและจัดการบริการและการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตในอนาคต ภาครัฐ ( ททท. ) จะต้องให้ความสำคัญของการทำ CRM : Customer Relationship Management
CEM : Customer Experiential Management และ CESR : Corporate Environmental Social responsibility
กับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มตลาด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำภายในประเทศไทย
2 จัดทำ Routing D’ Zine ของตัวสินค้าที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อจะเป็นการปลุกกระแสและทำให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
3 การจัดทำ Thaimesh Packages เพื่อ ให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4 มีการนำกระแส และหมายรวมถึงการสร้างกระแสให้เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของโลก โดยมีการกระตุ้นให้เกิดความ (อยาก) ให้เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวและมีการใส่ความคิดที่ ว่า “ ในชั่วชีวิตหนึ่งจะต้องเดินทางมาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยให้ได้ มากกว่า 1ครั้งให้ได้ ” ฯลฯ

ในอนาคตอันใกล้นี้ คำที่ว่า “ Creative Tourism ” จะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมโลก (ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2557 ) มากยิ่งขึ้น ยังจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการบริการและการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต

No comments:

Post a Comment