Wednesday, December 23, 2009

ราศีกลุ่มคนในประเทศไทย

โดย Mr. Thailand
ข้อมูล จาก คุณพิฆเนศ สุขสมจิตร

คนเราทุกๆคนย่อมจะมีวันเกิดประจำตัวกันทั้งนั้น ไม่ว่าพวกคุณ จะเป็นคนที่เกิดใน วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ ฯลฯ จนมาถึงวันอาทิตย์ แล้วมันจะแตกต่างกันอย่างไร มันก็แค่วันต่างๆ ในสัปดาห์ เท่านนั้นเอง หา.....พวกคุณๆ.....คิดกันอย่างนั้นนะหรือ.........แต่ผมคนหนึ่งละที่ไม่ได้คิดอย่างนั้น เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

วันอาทิตย์
ความร้อนแรงของดวงอาทิตย์......ยังคงแผดเผา.....ให้หลายต่อหลายอย่างมอดไหม้เป็นจุนไปได้.......แต่ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ในปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะมาถึงนี้คงจะต้องสงบปากและสงบคำลงบ้างก็จะเป็นการที่ดี....และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีขาลนี้.....คงจะมีการแปลเปลี่ยนไปบ้างไม่มากก็น้อย.....คนที่เกิดในวันอาทิตย์คงจะต้องเป็นผู้ที่รอโอกาสดังเสือสุ่มเพื่อคอยตะคลุบเหยื่อฉันใดก็ฉันนั้น


วันนี้คงนำเสนอแค่คนที่เกิดในวันอาทิตย์ก่อนนะครับ
ขอให้โชคดี......เถอะพี่น้องชาวไทย

Bangkok Creative City

Bangkok Creative City
โดย : พิฆเนศ สุขสมจิตร

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาส เข้าร่วมการสัมมนา โครงการหนึ่งมันน่าสนใจมากเลยจนอดไม่ได้ที่จะขอนำเสนอรายละเอียดของโครงการดังกว่า โดยขอนำเสนอการสรุปการสัมมนาในหัวข้อ “ กรุงเทพฯเมืองสร้างสรรค์ ” ( Bangkok Creative City) กำหนดการของการสัมมนาในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 วัน โดยในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นการนำเสนอผลการวิจัยในหัวข้อ
“ Bangkok Creative Spaces ” และ ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จะเป็นการสัมมนา หัวข้อ “ การพัฒนากรุงเทพฯ สู่เมืองสร้างสรรค์ ” ซึ่งผมจะขอนำเสนอการสรุปในภาพรวมของการสัมมนาฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1)ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2552เป็นการนำเสนอผลการวิจัยในหัวข้อ
“ Bangkok Creative Spaces ” สาระสำคัญจะเป็นการนำเสนองานวิจัยของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ Thailand Creative & Design : TCDC มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในวัยทำงาน คือ อายุเฉลี่ยของกลุ่มคนกลุ่มนี้จะอยู่ระหว่างอายุ 18 - 55 ปี จากแต่เดิม
(ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2552)นั้น การเลือกที่พักอาศัยของกลุ่มวัยทำงานจะให้ความสำคัญของการจัดสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น จะคำนึงถึงการคมนาคมและการขนส่ง การเดินทางจากที่พักอาศัยของตนเองไปยังสถานที่ทำงาน หรือ ปัจจัยทางด้านอืน ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกที่พักอาศัย หรือ คำจำกัดความที่ว่า “ จะใช้ลักษณะของตัวงานและการประกอบอาชีพของตนเองเป็นตัวตั้งเพื่อที่จะทำการเลือกที่พักอาศัย ”
แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน (ปีพ.ศ.2552) คนวัยทำงานกลุ่มนี้ (เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่มาก มีความเชื่อมั่นและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง อีกทั้งยังมีกำลังซื้อที่สูงอีกด้วย) จะใช้ความต้องการส่วนตัวและความชื่นชอบการออกแบบเมืองเป็นปัจจัยหลักในการเลือกที่อยู่อาศัย ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยฯได้ชี้ให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้จะคำนึงถึงความสะดวกสบายและความต้องการของตนเองเป็นตัวตั้งหลักสำคัญ เพื่อที่จะทำการเลือกที่พักอาศัย และหมายรวมถึงความชื่นชอบของกลุ่ม หรือ สังคมที่คนๆนั้นสังกัดอยู่เป็นหลัก การคำนึงถึงรูปและลักษณะการทำงานของตนเองจะเป็นปัจจัยตัวรองๆลงไป เพื่อที่จะเลือกที่อยู่อาศัย
ปัจจุบันนี้สามารถสังเกตได้ว่าบนถนนรัชดาฯ ได้มีการก่อสร้างคอนโดมิเนี่ยมมากขึ้น ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ มีการปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น การสร้างและปรับปรุงโรงแรมใหญ่ระดับ 4–5 ดาว ก็มีมากขึ้นบนถนนรัชดาฯ เพื่อเป็นการรองรับความต้องการของคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ
การกำหนดแผนงานและนโยบายของภาครัฐบาลในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเพื่อให้ทันต่อความต้องการของกลุ่มคนวัยทำงานมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งกลุ่มวัยทำงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ใหญ่มากที่สุดในจำนวนของประชากรที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร สังเกตเห็นได้จากนโยบายของภาครัฐบาลที่ได้กำหนดให้มีการขยายและจัดสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินเพิ่มเติม และเป็นการอำนวยความสะดวกของกลุ่มคนวัยทำงาน ทั้งยังเป็นการสอดรับกับความต้องการของประชาชนกรที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครอีกทางหนึ่ง
2)ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นการนำเสนอการบรรยายในหัวข้อ “ แนวทางใหม่ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการออกแบบชุมชนเมืองเพื่อบ่มเพาะความสร้างสรรค์ในมหานครของโลก ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อมูลและเป็นการกำหนดกลยุทธ์การใช้ที่ดิน และนโยบายการพัฒนาที่ดินอย่างสร้างสรรค์มีการกำหนดโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิด “ เขตสร้างสรรค์ ” ในกรุงเทพฯมหานคร และการนำเสนอแผนการสำรวจแผนที่ขุมทรัพย์แห่งทักษะของมหานครกรุงเทพ (Skills Mapping) ซึ่งจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพที่เต็มไปด้วยชุมชนคนสร้างสรรค์ใน 6 ย่านดังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันประกอบไปด้วย
จตุจักร: ตลาดนัดต้นตอห่วงโซ่ธุรกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่วัตถุดิบ ยันชิ้นงานสร้างสรรค์ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค
ทองหล่อ: ถนนที่รวมทุกปัจจัยของเมืองสร้างสรรค์ ต้นกำเนิดเครือข่ายกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชนและสังคม
สยามสแควร์: รัยเวย์แฟชั่นของวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยและเป็นที่แจ้งเกิดของแบรนด์แฟชั่นไทย
ทาวน์ อิน ทาวน์: เมืองเล็กของมนุษย์งานด้านเอเจนซี่ ศูนย์รวมบริการของธุรกิจโฆษณาและภาพยนตร์
อาร์.ซี.เอ. : แหล่งรวมค่ายเพลงอินดี้ ศูนย์กลางธุรกิจดนตรีและสถานบันเทิง
สุขุมวิท : ย่านธุรกิจบริการและที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับชาวต่างชาติ
ในการนี้ขอสรุปสาระและความสำคัญจากการสัมมนาและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ดังนี้
1) ทางด้านฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยวสามารถนำแนวคิดนี้มาปรับปรุงแผนการส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยวในภาคกลาง(กรุงเทพมหานคร) ได้ต่อไปในอนาคต
2) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สามารถนำนโยบายและกลยุทธ์วิธีต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ มาสรรค์สร้างเพื่อทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ และ อาชีพใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ต่อไป

ในการนี้พวกเราคนไทยด้วยกันคงจะต้องมีการร้องเพลงรอกันต่อไป ว่า...ท่านผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คนใหม่คนนี้......จะมีแนวทางและนโยบายในการทำงานอย่างไรบ้าง......พวกเราก็คงต้องรอกันต่อไป........จนกว่าวันนั้นจะมาถึงถ้าพวกเราคนไทยด้วยกัน...........ยังมีความโชคดีกัน..........อยู่


สวัสดี พี่น้องชาวไทย
Mr. Thailand
30 ธันวาคม 2552
11:30 น.

การท่องเที่ยวแนวใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

ข้อมูลโดย : พิฆเนศ สุขสมจิตร
เอกสารประกอบ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1)รูปแบบในการจัดการอตุสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยแบบเดิม คือ จะให้ ความสำคัญของวิธีการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในการกำหนดหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ระหว่างปี 2549 - 2552) โดยได้กำหนดเอาไว้ว่า “ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ” จะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการท่องเที่ยว (ในครั้งอดีต) ซึ่งได้มีการรวบรวมปัญหาต่างๆ และวิธีการแก้ไขความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ปัญหาชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้รับประโยชน์ และไม่มีส่วนร่วม หรือ ปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้เป็นไปตามขั้นตอนและกิจกรรมชนิดต่างๆ ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด
ในครั้งอดีตนั้นการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนี้จัดให้เป็นหลักการและได้นำไปใช้ กับ กิจกรรมเพื่อการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ และ การจัดการโครงการต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวของกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนในครั้งอดีต (ระหว่างปี 2549 - 2552) นั้น จะมีปัจจัยหลายๆ ด้านที่สามารถสร้างให้เป็นโอกาสทางการตลาดของการท่องเที่ยว แนวทางการส่งเสริมศักยภาพและกำหนดทิศทาง และ การเติบโตของการท่องเที่ยว ยังเป็นเครื่องมือที่มีสำคัญในการนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ
2.) การสัมมนาฯในครั้งนี้ ได้มีการขอยกตัวอย่าง และ การนำเสนอของกระแสการท่องเที่ยวของโลกสมัยใหม่ (ระหว่างปี 2553 - 2557 ) ที่จะเกิดขึ้นดังนี้
2.1 พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นอยู่ จากการประมวลสถานการณ์ และ เอกสารทางด้านวิชาการ มีรายละเอียดดังนี้
- นักท่องเที่ยวมีความต้องการ การท่องเที่ยวในรูปแบบเฉพาะมีมากขึ้น
- การเลือกเดินทางท่องเที่ยวอย่างรู้คุณค่า
- การแสวงหาประสบการณ์ การเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
- ท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก ห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
- มุ่งเน้นความสะดวกและการบริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
3)กลุ่มนักวิชาการณ์ และ ผู้เข้าร่วมฯ ได้มีการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภค และ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2550 – 2552 ดังนี้
กลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวชาวเยอรมนี : นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวชาวอิตาลี : 94 % ของนักท่องเที่ยวสนับสนุนมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมของที่พัก และ
อีก 90 % จะเลือกที่พักที่มีเครื่องหมาย ECO-LABEL
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยว สหราชอาณาจักร : นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการอุตสาหกรรมที่มีจริยธรรมและเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสิ่งนั้น
กลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวชาวสหรัฐอเมริกา: มีนักท่องเที่ยวที่มากกว่า 75 % ยึดมั่นว่าการเดินทางท่องเที่ยวของพวกเขาจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและ 38% เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และนักท่องเที่ยว 80 % มีความเห็นว่าการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่มีเพียงแค่ 14 % ที่จะคำนึงถึงที่พักที่มีมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ
ลักษณะของสินค้าทางการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกิจกรรมที่ยังได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ยังคงอยู่เช่นเดิมประกอบไปด้วย
• หาดทราย-ชายทะเล / ชมเมือง / ทิวทัศน์ / น้ำตก / ป่าเขา
• วัฒนธรรม/ประเพณี
• Shopping/สถานบันเทิง
• ฯลฯ
4)นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์และนำเสนอคุณลักษณะของสินค้าทางการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดกระแสความนิยมในอนาคต คือ
* การมุ่งความสนใจเฉพาะด้าน ในสินค้าท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/
ดำน้ำ/การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
* การสร้างเสริมประสบการณ์ และ การเรียนรู้สิ่งใหม่ในแหล่งท่องเที่ยว
เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร/การท่องเที่ยวชุมชน/ค่ายเยาวชน
* การสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การเป็นอาสาสมัคร/การปลูกป่าชายเลน/ดำน้ำเก็บขยะ ฯลฯ
นอกจากนี้การบิดตัวต่อสภาวการณ์ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่จะทำให้ผู้ประกอบการฯ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายนอกและภายในของประเทศไทย ให้มากขึ้นด้วย เช่น
1 การเปลี่ยนแปลงทางภาคการเกษตรของประเทศ
2 สภาวะแวดล้อมและสภาวะของสภาพอากาศในประเทศ
3 การประมวลสถานการณ์ทางด้านวิกฤตการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้นในประเทศ
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
4 การแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
5 ต้นทุนทางการผลิตที่สูงขึ้น/การปรับตัวของการบริหารการจัดการทั้งทางภาครัฐ-เอกชน
6 การวางตำแหน่งและตัวสินค้าที่มีอยู่ภายในประเทศไทย
ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการบิดตัวของผลสภาวการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุค
ใหม่ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
• การพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวจะต้องกระจายไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
• การสร้างระบบการเตือนภัยที่ดีและมีคุณภาพ
• การบูรณาการทางการตลาด / การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
• การทำตลาดและการทำธุรกิจในเชิงรุก / การทำตลาดทางตรงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่
4) การสัมมนาฯ ในครั้งนี้กระผมขอนำเสนอเครื่องมือที่จะเป็น “ การจัดการบริการ และ การท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต ” โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จะต้องมีการปรับมุมมองทางด้านการตลาดเสียใหม่ เช่น มีการกำหนดบทบาทให้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย หรือ คนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นเสมือน “ เพื่อนหรือคนรู้จัก ” มากกว่าจะเป็นเพียงนักท่องเที่ยวเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ภาพโดยรวมของตัวสินค้าที่มีอยู่ในประเทศไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ การที่ ททท. จะได้นำเอาปัญญาปฏิบัติของไทยมาใช้งานภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย
จะเป็นตัวช่วยเหลือที่ดีได้ต่อไปในอนาคต
ในการนี้จะขอยกแนวทางและปัญญาปฏิบัติของไทย รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ จากการจัดการความรู้ และแนวทางการทำงานของ ททท. ต่อไปในอนาคต ดังต่อไปนี้
1 วิธีการที่จะเป็นตัวการและจัดการบริการและการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตในอนาคต ภาครัฐ ( ททท. ) จะต้องให้ความสำคัญของการทำ CRM : Customer Relationship Management
CEM : Customer Experiential Management และ CESR : Corporate Environmental Social responsibility
กับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มตลาด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำภายในประเทศไทย
2 จัดทำ Routing D’ Zine ของตัวสินค้าที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อจะเป็นการปลุกกระแสและทำให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
3 การจัดทำ Thaimesh Packages เพื่อ ให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
4 มีการนำกระแส และหมายรวมถึงการสร้างกระแสให้เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของโลก โดยมีการกระตุ้นให้เกิดความ (อยาก) ให้เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวและมีการใส่ความคิดที่ ว่า “ ในชั่วชีวิตหนึ่งจะต้องเดินทางมาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยให้ได้ มากกว่า 1ครั้งให้ได้ ” ฯลฯ

ในอนาคตอันใกล้นี้ คำที่ว่า “ Creative Tourism ” จะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมโลก (ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2557 ) มากยิ่งขึ้น ยังจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการบริการและการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต

Thursday, August 13, 2009

บทความของคุณปู่


เซ็นเซอร์
Censor



โดย มานิจ สุขสมจิตร


เซ็นเซอร์ (Censor) หมายถึงการกวดขันคำพูดหรือการตัดทอนสาระในการสื่อสารในประเด็นที่ไม่สมควร ที่เห็นว่า จะเป็นอันตราย ไวต่อความรู้สึก หรือไม่เหมาะสมต่อรัฐบาล โดยสื่อมวลชนที่อาจถูกตรวจสอบกวดขันได้แก่ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ อินเตอร์เน็ต ดนตรี หนังสือพิมพ์ คำพูด และการแสดงความคิดเห็น
คำว่า เซ็นเซอร์ (Censor) ในตัวของมันเองเป็นชื่อ เรียกผู้พิพากษาตระลาการ หรือผู้ปกครองระดับต่างๆในสมัยโรมัน โดยผู้พิพากษาหรือผู้ปกครองทั้งหลายจะต้องสำรวจ
สัมมะโนประชากร (Census) โดยที่ขณะกำลังแจงนับจำนวนประชากรอยู่นั้น ก็จะต้องตรวจตราศีลธรรมจรรยาและความประพฤติของพลเมืองไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการตรวจตราหรือควบคุมจึงเรียกการนั้นเป็นการเซ็นเซอร์ตั้งแต่นั้นมา
ในการเซ็นเซอร์ได้มีการกระทำต่อสื่อมวลชนในมิติทางต่างๆ เช่น มิติด้านศีลธรรมจรรยาไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร มิติด้านการทหาร ไม่ให้มีการเผยแพร่ยุทธวิธีและการข่าวกรอง มิติด้านการเมืองไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารบางเรื่องบางประเด็น ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐบาล มิติทางด้านศาสนามิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะเป็นการบีบบังคับให้คนนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง มิติสุดท้ายเป็นมิติแห่งความร่วมมือซึ่งบรรณาธิการข่าวของสื่อมวลชนอาจเข้าไปขัดขวางหรือระงับยับยั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นเอง อันอาจเป็นผลกระทบต่อธุรกิจของกันเองหรือของหุ้นส่วนในทางลบ
สำหรับสื่อมวลชนมองการเซ็นเซอร์ หรือ การตรวจข่าวก่อนการเผยแพร่(Censor) ว่าเป็นการขัดขวางการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนและเป็นการตัดสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสาร ฉะนั้นคำว่า เซ็นเซอร์ จึงเป็นคำที่พึงรังเกียจและมองว่าการเซ็นเซอร์เกิดจากฐานความคิดของความกลัว ไม่ว่าจะเป็นความกลัวจะสูญเสียอำนาจรัฐ กลัวความไม่สงบเรียบร้อยของสังคม กลัวความรู้ใหม่ๆ อันจะทำให้ผู้มีความรู้เก่าถูกลดความสำคัญลงไป กลัวความเชื่อทางศาสนาใหม่หรือทัศนคติใหม่ๆ ฉะนั้นผู้มีอำนาจรัฐจึงต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดและมีการตรวจสอบก่อนจะเผยแพร่จนมีความคิดว่า การเซ็นเซอร์ที่ทำกันอยู่นั้นได้ให้ประโยชน์แก่สังคมหรือเป็นการทำลายคุณค่าของผลงานมากกว่ากัน
โดยเฉพาะการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ของพนักงานผู้ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ของไทยที่ไม่ให้มีภาพการสูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา ภาพการฆ่าคน ภาพข้าราชการกระทำผิดกฎหมายหรือภาพการข่มขืนกรรทำชำเรา(ที่ไม่โจ๋งครึ่ม) จึงมีผู้ตั้งคำถามอยู่เสมอว่าเท่าที่ผ่านมามีกรรมการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์คนใดที่ได้ตรวจพิจาณาภาพยนตร์แล้วคิดจะไปปลุกปล้ำกรรทำชำเราใครบ้างหรือไม่หรือคิดจะไปล้มล้างระบบล้มล้างอำนาจรัฐหรือไม่ หรือ ว่ากรรมการผู้ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ของไทยเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่มีภูมิคุ้มกันหรือมีความอดทนอดกลั้นดีกว่าคนอื่นๆที่มิได้เป็นกรรมการเซ็นเซอร์
อย่างไรก็ตามการควบคุมตรวจสอบหรือการเซ็นเซอร์ที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานับพันปีแล้วทั้งประเทศทางตะวันตกและประเทศทางตะวันออกโดยเฉพาะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรือกระเดียดไปทางเผด็จการซึ่งเมื่อมีระบบเซ็นเซอร์(Censorship) แล้วมักทำอย่างหนึ่ง อย่างใด เช่น 1 เก่งการสั่งห้ามเผยแพร่ (Banning) 2 ทำลาย (Destroying)
3 การกำหนดว่าจะต้องได้รับอนุญาตก่อน (Licensing) และ 4 การยับยั้งหรือหน่วงเหนี่ยวกักไว้ก่อนเพื่อให้มีการแก้ไขหรือรอเวลา (Prior restraint)
ในประเทศไทยกรณีหนังสือพิมพ์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้เกิดการขัดแย้งทางความคิดขนานใหญ่ระหว่างฝ่ายนิยมการเมืองระบอบเก่ากับระบอบใหม่ประกอบกับนักการเมืองในยุคนั้นที่มีอำนาจรัฐเห็นว่าหนังสือพิมพ์ที่ไม่เสนอข่าวและความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อตน อาจเป็นภัยต่อตนได้ ดังนั้นหนังสือพิมพ์ที่มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล มักจะถูกสั่งปิดด้วยข้อหาต่างๆ เช่น ข้อหาเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน หรือ มีข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
ช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมเสรีภาพหนังสือพิมพ์อย่างจริงจังโดยจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีได้ตรา พรบ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 ขึ้นมาใช้แทน พรบ. สมุดเอกสารหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2470 กฎหมายฉบับใหม่ได้ให้อำนาจแก่อธิบดีกรมตำรวจ(ปัจจุบัน เรียกตำแหน่งนี้ว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) และ เจ้าพนักงานการพิมพ์ ( กรณีต่างจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานการพิมพ์)ในการควบคุมดูแลหนังสือพิมพ์มากขึ้นกฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกฎหมายที่จำกัดตัดรอนเสรีภาพหนังสือพิมพ์อย่างรุนแรง( พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 )
ครั้นเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ได้มีการจำกัดเสรีภาพหนังสือพิมพ์มากยิ่งขึ้น (ขณะนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงก็เป็นของกรมโฆษณาการหรือของส่วนราชการอื่นๆ) โดยกระทรวงกลาโหมได้ประกาศตั้งคณะกรรมการเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ให้ทำหน้าที่ตรวจข่าวก่อนตีพิมพ์และกรมตำรวจได้ออกประกาศห้ามเสนอข่าวการประชุมสภาป้องกันราชอาณาจักร สภากลาโหม หรือข่าวการประชุม 3 กองทัพรวมทั้งห้ามเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของทหารไทยที่ไปร่วมรบกับสหประชาชาติในเกาหลีและห้ามวิพากษ์การเมืองระหว่างประเทศ
มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างความหวาดกลัวและยากลำบากแก่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์สมัยนั้นอย่างยิ่ง เพราะก่อนจะตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ออกจำหน่ายนั้นจะต้องทดลองพิมพ์เพียงฉบับเดียวที่เรียกว่า “ ปรู๊ฟหน้าแท่น ” ไปให้เจ้าพนักงานเซ็นเซอร์ตรวจก่อนหากเจ้าพนักงานเห็นว่าข่าวใดภาพใดหรือบทความใดไม่ต้องการให้ออกเผยแพร่ก็จะขีดกากบาทลงในฉบับทดลองพิมพ์นั้น ทำให้กองบรรณาธิการต้องจัดหาข่าวภาพหรือบทความอื่นลงแทนเพื่อที่จะได้ออกจำหน่ายทันในตอนบ่าย ข่าวที่เตรียมไว้จะต้องเป็นข่าวภาพหรือบทความที่แน่ใจว่าจะไม่ถูกห้ามพิมพ์ เช่นข่าวเกี่ยวกับพลเมืองอีกาในท้องสนามหลวงหรือจำนวนต้นมะขามรอบสนามหลวงคงเหลือกี่ต้นแห้งตายไปกี่ต้นจนเป็นที่ขบขันแก่ผู้อ่านยิ่งนัก
การจำกัดสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ยังคงมีอยู่ใน พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ตลอดมาบางครั้งมีความเข็มงวด ยิ่งขึ้นด้วยการออกกฎหมายพิเศษมาควบคู่ เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 (สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่42 (สมัยพลเรือเอกสงัด ชลอยู่) จนเมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จึงได้มีการยกเลิกอำนาจการสั่งปิดโรงพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แต่เจ้าพนักงานการพิมพ์ยังมีอำนาจเซ็นเซอร์ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 39 วรรค สี่ ความว่า “ การให้นำข่าวหรือ บทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์วิทยุกระจายเสียงหรือ วิทยุโทรทัศน์จะกระทำมิได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ ในสภาวะสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ร่างขึ้นตามวรรคสอง ”
ครั้นเมื่อใดมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พ.ศ. 2540 แล้วบทบัญญัติในเรื่องอำนาจการเซ็นเซอร์(การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณา ในหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนอื่นๆ) จะกระทำมิได้มีอยู่ในมาตรา 45 วรรคห้า แต่มีเงื่อนไขว่า “ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประกาศอยู่ใน ภาวะสงคราม แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ได้ตราขึ้นตามวรรคสอง ”
ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจการเซ็นเซอร์ในฉบับพ.ศ. 2540และฉบับ พ.ศ. 2550 มีความแตกต่างกันโดยฉบับ พ.ศ. 2540มีถ้อยคำว่า “ หรือการรบ ” อยู่ต่อท้ายคำว่า “ในภาวะสงคราม ” ด้วย แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้ตัดคำว่า “ หรือการรบ ” ออกจึงน่าจะหมายความว่าปัจจุบันนี้หากจะมีการเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นได้ก็เฉพาะแต่ในเวลาที่ประกาศอยู่ในสภาวะสงครามเท่านั้น
ซึ่งสภาวะสงครามที่ว่านี้มาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ” ฉะนั้นการอ้าง “ สภาวะสงคราม ” ลอยๆย่อมไม่อาจกระทำได้ จะต้องเป็นสภาวะสงครามตามความหมายของมาตรา 223

*****************************

Wednesday, August 12, 2009

The family vacation.blogspot.com

The family vacation.blogspot.com

อันนี้เป็น BLOG ของคนใกล้ตัวของผมเองนะครับ พวกคุณ รองเข้าไปดูได้เลย
น่าสนุกดี

ผมว่ากำลังจะเขียนพาเที่ยวอยู่เหมือนกันครับแต่คงเป็นในประเทศไทยก่อนคงจะได้มั๊ง.....หรือคุณว่าอย่างไร

Wednesday, July 22, 2009

ทดสอบการออกอากาศครั้งพิเศษ

คำถามใหม่

" ถ้า Blog ของเราไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ละ ถ้ามันกลายเป็นรายการ TV.ในโลกของความจริงละ
มันจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นบ้างละ แล้วพวกคุณคิดว่าคำถามใหม่นี้จะสามารถเป็นจริงได้หรือไม่ "



mailto:pickanet@gmail.com
เพราะว่าคำตอบของคุณคือหนึ่งกำลังสำคัญของเรา

Tuesday, July 21, 2009

hello world

ขอต้อนรับสู่ blog ในฝันของพวกคุณทุกคน และพวกคุณทุกคนสามารถเล่าความฝันของคุณเองได้